เมนู

ดูก่อนผู้มีอายุ เราเองถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่ภิกษุ เฉพาะ
พระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราทำให้แจ้งซึ่ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่ได้อย่างใด แม้กัสสปก็ทำให้แจ้ง
ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่ได้อย่างนั้นเหมือนกัน.
[517] ดูก่อนผู้มีอายุ ผู้ใดสำคัญเราว่า ควรปกปิดได้ด้วย
อภิญญา 6 ผู้นั้นก็ควรสำคัญช้าง 7 ศอกหรือ 7 ศอกครึ่งว่า จะพึง
ปกปิดด้วยใบตาลได้.
ก็แลภิกษุณีชื่อถุลลติสสาเคลื่อนจากพรหมจรรย์เสียแล้ว.
จบภิกขุปัสสยสูตรที่ 10

อรรถกถาภิกขุนูปัสสยสูตรที่ 10



พึงทราบวินิจฉัยในภิกขุนูปัสสยสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้.
บทว่า อายาม ภนฺเต ความว่า ถามว่า ท่านพระอานนท์ ย่อม
วิงวอนการไปสู่ที่พักภิกษุณี เพราะเหตุไร. ตอบว่า ไม่ใช่เพราะเหตุลาภ
และสักการะ. ย่อมวิงวอนว่า ก็ในที่พักภิกษุณีนี้ พวกภิกษุณีที่ต้องการ
กัมมัฏฐานมีอยู่. ก็เราจักยังภิกษุณีเหล่านั้นให้เกิดความขวนขวายแล้ว พึง
ให้บอกกัมมัฏฐาน ดังนี้ . ถามว่า พระเถระนั้น ตนเองก็ทรงพระไตรปิฎก
เป็นพหูสูต มิใช่หรือ ไม่สามารถจะบอกเองหรือ. ตอบว่า ไม่สามารถ
ก็หามิได้. แต่ย่อมวิงวอนว่า พวกภิกษุณีจักสำคัญธรรมของพระสาวก
ผู้มีส่วนเปรียบด้วยพระพุทธเจ้าอันตนพึงเชื่ออย่างไร. บทว่า พหุกิจฺโจ

ตฺวํ พหุกรณีโย ถามว่า พระเถระเป็นผู้ขวนขวายในนวกรรมเป็นต้นหรือ
จึงกล่าวอย่างนี้ก็พระอานนท์. ก็เมื่อพระศาสดาของเราปรินิพพานแล้ว
บริษัท 4 เข้าไปหาพระอานนทเถระ ร้องไห้อยู่ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
บัดนี้ท่านรับบาตรและจีวรของใครเที่ยวไปเล่า. ท่านกวาดบริเวณของใคร.
ท่านถวายน้ำล้างหน้าแก่ใคร. พระเถระปลอบบริษัทว่า สังขารทั้งหลาย
ไม่เที่ยง. พระยามัจจุราชไม่ละอาย ประหารแล้วแม้ในพุทธสรีระ. นั่น
เป็นธรรมดาของสังขารทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอยู่เศร้าโศก อย่าคร่ำครวญ
ดังนี้. นี้เป็นกิจมากของท่าน. พระเถระหมายถึงข้อนั้น จึงกล่าวอย่างนี้.
บทว่า สนฺทสฺเสสิ ได้แก่ แสดงคุณแห่งการปฏิบัติ. บทว่า สมาทเปสิ
แปลว่า ให้ถือเอา. บทว่า สมุตฺเตเชสิ แปลว่า ให้อาจหาญ. บทว่า
สมฺปหํเสสิ ได้แก่ ให้ยินดีรุ่งเรืองด้วยคุณที่ได้แล้ว. บทว่า ถุลฺลติสฺสา
ความว่า ชื่อว่าติสสา เพราะมีสรีระอ้วน. บทว่า เวเทหมุนิโน คือ
บัณฑิตมุนี. ก็บัณฑิตย่อมนำไป คือทำกิจทั้งปวงด้วยความรู้ กล่าวคือ
ญาณ. เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า เวเทหมุนี. ชื่อว่าเวเทหมุนี เพราะอรรถ
ว่า มุนีนั้นด้วย เป็นผู้มีความรู้ด้วย. บทว่า ธมฺมํ ภาสิตพฺพํ มญฺญติ
ความว่า พระมหากัสปตนเองอยู่ป่า ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร จึงสำคัญ
ธรรมที่ตนควรกล่าวว่า เราเป็นธรรมกถึก ดังนี้ ในที่ต่อหน้าของพระ
อานนท์ผู้ทรงปิฎก เป็นคลังพระธรรม. พูดดูหมิ่นว่า ก็นี้ได้แก่อะไร
ก็นี้เป็นอย่างไร. บทว่า อสฺโสสิ ความว่า ได้ฟังแล้ว ด้วยสามารถ
แห่งคำที่บุคคลอื่นมาบอก. บทว่า อาคเมหิ ตฺวํ อาวุโส ได้แก่ ท่าน
ผู้มีอายุ จงหยุดก่อน. บทว่า มา เต สงฺโฆ อุตฺตรึ อุปปริกฺขิ ความว่า
ภิกษุสงฆ์อย่าเข้าไปสอดเห็นข้อนั้นให้เกินไปในโอกาส. มีอธิบายว่า สงฆ์

อย่าสำคัญข้อนั้นอย่างนี้ว่า พระอานนท์ไม่ห้ามสาวก ผู้มีส่วนเปรียบด้วย
พระพุทธเจ้า ห้ามแต่ภิกษุณีฝ่ายเดียว. ความคุ้นเคยหรือความเยื่อใยของ
สาวกกับภิกษุณีนั้นจักมีได้ ดังนี้.
บัดนี้ พระมหากัสสป เมื่อแสดงตนว่ามีส่วนเปรียบด้วยพระ-
พุทธเจ้า จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ตึ กึ มญฺญสิ อาวุโส ดังนี้. บทว่า
สตฺตรนํ คือ ประมาณ 7 ศอก. บทว่า นาคํ คือ ช้าง. บทว่า
อฑฺฒฏฺฐมรตนํ วา ได้แก่ 8 ศอกครึ่ง อธิบายว่า ตั้งแต่เท้าหน้าจนถึง
กระพองสูง 7 ศอกคืบ. บทว่า ตาลปตฺติกาย คือ ด้วยใบตาลอ่อน.
บทว่า จวิตฺถ ความว่า ถุลลติสสาภิกษุณีเคลื่อนแล้ว (จากเพศ
พรหมจรรย์) คือยังไม่ตาย หรือฉิบหายแล้ว.
ก็เมื่อพระมหากัสสปเถระบันลือสีหนาทด้วยอภิญญา 6 อยู่ ผ้าย้อม
น้ำฝาดของภิกษุณีนั้น เริ่มระคายที่ร่างกายเหมือนเรียวหนาม เพราะกล่าว
ร้ายสาวกผู้มีส่วนเปรียบด้วยพระพุทธเจ้า. ความพอใจเกิดขึ้น ในขณะ
เปลื้องผ้าเหล่านั้นออกนุ่งผ้าขาว ดังนี้.
จบอรรถกถาภิกขุนูปัสสยสูตรที่ 10

11. จีวรสูตร



ว่าด้วยภิกษุสัทธิวิหาริกของพระอานนท์ 30 รูป ลาสิกขา



[518] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปอยู่ ณ พระเวฬุวันกลัน-
ทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์. ก็สมัยนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวจาริกไป
ในทักขิณาคิรีชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ก็โดยสมัยนี้แล ภิกษุ
ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของท่านประมาณ 30 รูป โดยมากยังเป็นเด็กหนุ่ม พา
กันลาสิกขา เวียนมาเพื่อความเป็นหีนเพศ.